Archive for February, 2010

ผงฟู (sodium bicarbonate)

ผงฟู มีชื่อเรียกทางเคมีว่าโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate or sodium hydrogen carbonate) เป็นสารประกอบที่มีสูตรทางเคมี NaHCO3 ผงฟูมีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีโครงสร้างเป็นผลึก แต่ปรากฎในรูปผงละเอียด มีคุณสมบัติเป็นเบส ผงฟูมีชื่อทางการค้าที่เรียกกันทั่วไปหลายชื่อด้วยกัน เช่น เบรกิ้งโซดา(baking sda) เบรดโซดา(bread soda) คุ๊กกิงโซดา (cooking soda) และ ไบคาร์บอเนตโซดา (bicarbonate of soda)

 sodium_bicarbonate

กระบวนการผลิต (production)

NaHCO3 เตรียมได้จากกระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) โดยใช้มีปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ ได้ผลิตภัณฑ์เป็น โซเดียมคาร์บอเนตและน้ำ

CO2 + 2 NaOH → Na2CO3 + H2O

2. จากนั้นเติมคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไปทำปฏิกิริยากับ โซเดียมคาร์บอเนต ก็จะได้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต หรือผงฟูตกตะกอนลงมาเมื่อมีความเข้มข้นมากเพียงพอ

Na2CO3 + CO2 + H2O → 2 NaHCO3

 

การสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน (Thermal decomposition)

            เมื่อผงฟูได้รับความร้อนมากกว่า 70 °C จะค่อยๆ สลายตัวไปเป็น โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)  น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ปฏิกิริยาการสลายตัวนี้จะเกิดขึ้นได้เร็วที่อุณหภูมิ 250 °C

            2 NaHCO3 → Na2CO3 + H2O + CO2

            หากเผาโซเดียมคาร์บอเนตต่อที่อุณหภูมิ 1000 °C ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นโซเดียมออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์

            Na2CO3 → Na2O + CO2

 

การนำไปใช้งาน (Applications)

            ที่พบได้ทั่วไปคือ ใช้ในการทำอาหาร ทำเบเกอรี่  ซึ่งผงฟูนี้จะ ใช้เป็นแหล่งให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการสลายตัว ในขั้นตอนการอบเบเกอรี่ ทำให้เกิดช่องว่างขึ้นภายใน ทั้งนี้สามารถผสมผงฟูเป็นส่วนประกอบของเบเกอรี่ชนิดต่างๆ  และสามารถทิ้งส่วนผสมนี้ไว้โดยที่ไม่เกิดก๊าซ CO2 ก่อนขั้นตอนการอบได้  นอกจากนั้นยังใช้ปรับสภาพสระว่ายน้ำ หรือตู้ปลาให้มีความเป็นกลาง เนื่องจากการเติมคลอรีนที่มากเกินไปทำให้สระว่ายน้ำมีความเป็นกรดมากเกินไป

Popularity: 48% [?]

แก้วสี (colored glass)

แก้วสี (colocolored_glassesred glass) หรือกระจกสี เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ 2500 ปีมาแล้ว ชาวอียิปต์ได้ประดิษฐ์แก้วทึบแสงขึ้นมา ส่วนในสมัยประวัติศาสตร์กลาง ก็มีการนำแก้วสีมาตกแต่งโบสถ์วิหารโดยใช้ทำกระจกที่มีสีสันต่างๆ เช่นแก้วสีชมพู (Crimson pink) ซึ่งมีความสวยงามมาก ผลิตจากช่างแก้วชาวเวนิช จากนั้นได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ตามยุคสมัยต่างๆ
Read the rest of this entry »

Popularity: 24% [?]

การป้องกันอันตราย (safety first)

     อันตรายจากอุปกรณ์เป่าแก้วและพื้นที่ทำงาน อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าในการเป่าแก้ว เช่น เครื่องเจาะแก้ว เครื่องตัดแก้ว เครื่องขัดแก้ว เป็นต้น ล้วนก่อให้เกิดอันตรายได้เสมอหากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของเครื่องจักร หรือเศษแก้วที่แตกและกระเด็นขณะใช้งานเครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงต้องระมัดระวัง ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ใช้ได้หรือพร้อมใช้ตลอดเวลา

     ส่วนอันตรายอันอาจจะเกิดจากสถานที่ทำงาน เนื่องจากการระบายอากาศและก๊าซต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซและเชื้อเพลิงขณะทำงาน ระบายไม่ดี เพียงพอ แสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไปก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน หากมีสถานที่ที่เหมาะสมแล้วนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชิ้นงานที่ทำออกมีมีคุณภาพด้วย

     ในการเป่าแก้ว อาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ จำเป็นต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้ให้พร้อม เช่น ตู้ยาหรือตู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) ที่มียาหรือเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอเหมาะสม นอกจากนั้นก็เป็นน้ำยาล้างตา เครื่องดับเพลิง ทรายหรือผ้าห่มดับไฟ วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการนำมาใช้ และต้องมีคู่มือวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเหล่านี้ด้วย และต้องไม่ลืมฝึกซ้อมเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อให้มีความพร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และขั้นตอนการระงับเหตุอย่างถูกวิธี

แว่นตาเป่าแก้ว (eyeglasses) ในการเป่าแก้วมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องสวมแว่นตาที่มีความจำเพาะกับงานเป่าแก้ว โดยเลือกเลนส์ที่มีชื่อเรียกว่า Didymium ซึ่งเลนซ์นี้สามารถดูดกลืนแสงในช่วงสีเหลืองได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแก้วได้รับความร้อนจากไฟที่เกิดจากก๊าซเชื้อเพลิงและก๊าซสันดาป จะเปล่งแสงสีเหลืองออกมา แสงสีเหลืองที่เปล่งออกมานี้เป็นแสงที่เกิดจากธาตุโซเดียมที่เป็นส่วนประกอบของแก้ว มีความสว่างจ้ามาก ทำให้ผู้เป่าแก้วมองชิ้นงานไม่ชัดเจนและแสบตา นอกจากนั้นยังประกอบด้วยแสงยูวี (UV light) ซึ่งเป็นแสงที่อันตรายมากต่อดวงตา สำหรับเสนส์ Didymium เป็นแก้วพิเศษที่ประกอบด้วย neodymium oxide และ praseodymium oxide

     แว่นตาเป่าแก้วนี้ ยังช่วยป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดแก้ว การต่อแก้ว และการเป่าแก้ว อาจมีเศษแก้ว หรือสะเก็ดแก้ว กระเด็นเข้าตาได้ แว่นตาเป่าแก้วจึงจัดเป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายได้อย่างดี ต้องสวมตลอดเวลาเมื่อทำการเป่าแก้ว

Popularity: 22% [?]

Search
glassware chemical