Archive for April, 2013

หลักการของโครมาโทกราฟี

โครมาโทกราฟี อาศัยหลักการละลายของสารในตัวทำละลาย  และการถูกดูดซับโดยตัวดูดซับ  โดยสารที่ต้องการนำมาแยกโดยวิธีนี้จะมีสมบัติการละลายในตัวทำละลายได้ไม่เท่ากัน  และตัวถูกดูดซับโดยตัวดูดวับได้ไม่เท่ากัน  ทำให้สารเคลื่อนที่ได้ไม่เท่ากัน

วิธีการทำโครมาโทกราฟี

นำสารที่ต้องการแยกมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสมแล้วให้เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับ  การเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารแต่ละชนิดในตัวทำละลาย  และความสามารถในการดูดซับที่มีต่อสารนั้น  กล่าวคือ  สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดี  และถูกดูดซับน้อยจะถูกเคลื่อนที่ออกมาก่อน  ส่วนสารที่ละลายได้น้อยและถูกดูดซับได้ดี  จะเคลื่อนที่ออกมาทีหลัง  ถ้าใช้ตัวดูดซับมาก
ๆ  จะสามารถแยกสารออกจากกันได้

การเลือกตัวทำละลายและตัวดูดซับ

1.  ตัวทำละลายและสารที่ต้องการแยกจะต้องมีการละลายไม่เท่ากัน
2.  ควรเลือกตัวดูดซับที่มีการดูดซับสารได้ไม่เท่ากัน
3.  ถ้าต้องการแยกสารที่ผสมกันหลายชนิด  อาจต้องใช้ตัวทำละลายหลายชนิดหรือใช้ตัวทำละลายผสม
4.  ตัวทำละลายที่นิยมใช้  ได้แก่  เฮกเซน  ไซโคลเฮกเซน  เบนซีน  อะซีโตน คลอไรฟอร์ม เอธานอล
5.  ตัวดูดซับที่นิยมใช้  ได้แก่  อะลูมินาเจค (Al2O3)  ซิลิกาเจล  (SiO2)

ค่า Rf โครมาโทกราฟีแบบกระดาษสามารถนำมาคำนวณหาค่า Rf ได้
ค่า Rf (Rate of flow) เป็นค่าเฉพาะตัวของสาร
ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายและตัวดูดซับ ดังนั้นการบอกค่า Rf ของสารแต่ละชนิดจึงต้องบอกชนิดของตัวทำละลาย และตัวดูดซับเสมอค่า Rf
สามารถคำนวณได้จากสูตร

Rf    =     ระยะทางที่สารเคมีคลื่อนที่(cm)
ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ (cm)

สารต่างชนิดกันจะมีค่า Rf แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถใช้ค่า Rf มาใช้ในการวิเคราะห์ชนิดของสารได้กล่าวคือ ถ้าสารใดมีความสามารถในการละลายสูงจะมีค่า Rf มาก เนื่องจากตัวทำละลายจะเคลื่อนที่เร็วกว่าสารที่จะแยก ค่า Rf < 1 เสมอ  ถ้าใช้ตัวทำละลายและตัวดูดซับชนิดเดียวกันปรากฏว่ามีค่า Rf เท่ากัน อาจสันนิษฐานได้ว่า สารดังกล่าวเป็นสารชนิดเดียวกัน หรือนำสารตัวอย่างมาทำโครมาโทกราฟีคู่กับสารจริงก็ได้

ข้อดีของโครมาโทกราฟี
1.  สามารถแยกสารที่มีปริมาณน้อยได้
2.  สามารถแยกได้ทั้งสารที่มีสี และไม่มีสี
3.  สามารถใช้ได้ทั้งปริมาณวิเคราะห์ (บอกได้ว่าสารที่แยกออกมา มีปริมาณเท่าใด) และคุณภาพวิเคราะห์ (บอกได้ว่าสารนั้นเป็นสารชนิดใด)
4.  สามารถแยกสารผสมออกจากกันได้
5.  สามารถแยกสารออกจากกระดาษกรองหรือตัวดูดซับโดยสกัดด้วยตัวทำละลาย

Popularity: 3% [?]

Search
glassware chemical