Archive for the ‘วัสดุวิทยาศาสตร์ (scientific materials)’ Category

กรีส (grease)

กรีส (grease) ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ จะใช้สำหรับหล่อลื่นก๊อกแก้วที่ควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น บิวเรตต์ กรวยแยก หรือใช้ทาข้อต่อชุดกลั่นที่ทำด้วยแก้วในห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องการการติดแน่นของแก้ว ทำให้แกะออกยาก และป้องกันสารเคมีภายใน และอากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกิริยา หรือเจือปนกัน

เพื่อให้สามารถใช้งาน กรีส ได้อย่างง่าย ทำได้โดยบรรจุกรีสลงไปในกระบอกฉีดยา เมื่อต้องการใช้งานสามารถบีบออกมาได้อย่างง่าย กรีสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ฟลูออโรอีเทอร์ กรีส (fluoroether-base  grease) และ ซิลิโคน กรีส (Silicone-base vacuum grease) ใช้ทาข้อต่อในงานทางด้านสุญญากาศ ซิลิโคนกรีสจะมีราคาถูกกว่า ฟลูออโรอีเทอร์ กรีส แต่ฟลูออโรอีเทอร์ กรีส จะมีคุณสมบัติที่เฉื่อย ไม่ทำปฏิกิริยากับ กรด เบส ตัวทำละลายหลายชนิด และสารออกซิไดซ์

กรีสสามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เมื่อใช้แล้วอาจเกิดการปนเปื้อนปฏิกิริยาได้ เมื่อใช้แล้วจำเป็นต้องล้างเครื่องแก้วให้สะอาด โดยล้างด้วยสารเพนเทน(pentane) หรือ เฮกเซน (hexane) ซิลิโคนกรีส จะล้างออกได้ยากกว่าสามารถล้างออกได้โดยแช่ในสารละลายเบส

Popularity: 1% [?]

ถ้วยชั่งสาร weighing boat

ถ้วยชั่งสาร weighing boat ใช้สำหรับชั่งสาร ลักษณะเป็นภาชนะเปิด ทำด้วยวัสดุชนิดพิเศษ ยางพอลิสไตรีน ที่มีผิวเรียบและขอบโค้งมน ทำให้สารตัวอย่างทั้งชนิดผงและก้อน ที่นำมาชั่งไม่ติดถ้วยชั่งสารและเทสารออกจากภาชนะได้ง่าย สีของถ้วยชั่งสารจะเป็นสีขาวแสงส่องผ่านได้ นอกจากนั้นคุณสมบัติของพอลิสไตรีนยังสามารถบิดงอได้ ทนต่อการกัดกร่อนของกรดอ่อน เบส อัลกอฮอล์ และตัวอย่างทางชีวภาพ มากไปกว่านั้นถ้วยชั่งสารยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส โดยส่วนใหญ่จะใช้แล้วทิ้ง weighing boat ใช้ชั่งสารตัวอย่างได้ทั้งของแข็ง และของเหลว และมีขนาดให้เลือกใช้งานได้หลายขนาดอีกด้วย

Popularity: 1% [?]

ฮีโมไซโตมิเตอร์ Hemocytometer

ฮีโมไซโตมิเตอร์ (Hemocytometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้นับจำนวนเซลล์ ปกติแล้วจะถูกออกแบบมาใช้สำหรับนับเซลล์ของเม็ดเลือด นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้น hemocytometer นี้คือ Louis-Charles Malassez hemocytometer ประกอบด้วยส่วนที่เป็นสไลด์ และแผ่นปิดสไลด์ ส่วนที่เป็นสไลด์ทำด้วยวัสดุที่แก้วหรือพลาสติกรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะคล้ายสไลด์แก้วแต่มีความหนามากกว่า โดยแก้วนี้จะมีช่องว่างสำหรับใส่สารตัวอย่าง พร้อมด้วยส่วนที่เป็นพื้นที่นับนับเซลล์ขนาดเล็กมาก ถูกทำให้เป็นเส้นตั้งฉาก ตารางหรือกริด ด้วยเลเซอร์ การนับเซลล์ หรืออนุภาคที่อยู่ภายในตาราง และมีปริมาตรที่แน่นอนของของเหลวตัวอย่าง จะทำให้สามารถคำนวณความเข้มข้นของเซลล์ในของเหลวได้ การนับเซลล์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยขยายขนาด แล้วนับได้โดยตรง หน่วยที่ใช้ในการนับเซลล์จะใช้หน่วย เซลล์ต่อปริมาตร

ตารางหรือกริด จะมีหลายขนาดด้วยกัน เช่น ขนาด 1X1 mm. (1 mm2)  ขนาดละเอียดลงไป 0.25 x 0.25 mm (0.0625 mm2), 0.25 x 0.20 mm (0.05 mm2) และ 0.20 x 0.20 mm (0.04 mm2). ส่วนความลึกจะกำหนดไว้ที่ 0.1 mm. เพราะฉะนั้นจะทำให้เราทราบค่าปริมาตรได้ โดยใช้สูตร กว้าง x ยาว x สูง ตัวอย่างเช่น ตารางขนาด 1X1 mm. ความลึก 0.1mm. จะมีปริมาตรเท่ากับ 1mm.X1mm.X0.1mm = 0.1mm3 หรือ 100 nl

Popularity: 1% [?]

ซิลิกาเจล (Silica gel)

ซิลิกาเจล (Silica gel) คือ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) มีลักษณะเป็นเม็ด หรือผงสีขาว เป็นวัสดุที่มีความพรุนสูง สังเคราะห์มาจากโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) ซิลิกาเจลเป็นของแข็ง ไม่ใช่เป็นเจล เหมือนเจลาติน หรือวุ้น ตามชื่อเรียก ซิลิกาเจลที่นำมาใช้เป็นสารดูดความชื้น มีขนาดของรูพรุน 2.4 นาโนเมตร และมีความสามารถในการดูดความชื้นสูง เราสามารถพบซิลิกาเจลได้ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น บรรจุอยู่ในซองขนมบางชนิด บรรจุในกล่องอุปกรณ์อิเล็คทรอนิก ใช้เพื่อควบคุมความชื้น ป้องกันการเน่าเสีย หรือการเสื่อมสภาพของสินค้า ในบางครั้งจะมีการเติมสารเคมีที่มีสีลงไป เช่น เติมโคบอลต์คลอไรด์ (CoCl2) ลงไปเพื่อใช้บ่งบอกว่าซิลิกาเจลดูดความชื้นจนอิ่มตัวแล้วหรือไม่ โดยสามารถสังเกตการเปลี่ยนสีของซิลิกาเจลได้ เมื่อซิลิกาดูดความชื้นจนกระทั่งอิ่มตัวจะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีชมพู เราสามารถไล่ความชื่นออกจากซิลิกาเจลด้วยการใช้ความร้อน โดยใช้ตู้อบ หรือนำไปผึ่งแดด ซิลิกาเจลก็จะเปลี่ยนจากสีชมพูไปเป็นสีน้ำเงิน หลังจากนั้นก็สารมารถนำกลับมาดูดความชื่นใหม่ได้อีก

Popularity: 1% [?]

Solid phase extraction

Solid phase extraction (SPE) มีชื่อทางการค้าว่า SPE cartridge หรือ Sep-Pak เป็นวิธีการแยกสารออกจากละลายผสมที่เราสนใจ
โดยใช้คุณสมบัติที่แตกต่างกันทางกายภาพและเคมี ห้องปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ใช้ SPE เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวอย่างและทำให้บริสุทธ์ก่อนการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง high performance liquid chromatography (HPLC) นอกจากนั้นยังใช้แยกสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์(analyte) ออกจากส่วนผสมที่อาจจะมีผลต่อการวิเคราะห์(matrices) จากตัวอย่างชนิดต่างๆ เช่น น้ำทะเล เลือด เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ ดิน และเนื้อเยื่อของสัตว์

หลักการของ SPE เมื่อสาร analyte และสารเจือปนละลายอยู่ในสารละลาย (เรียกสารละลายว่าเฟสที่เคลื่อนที่, mobile phase) ผ่านไปยังเฟสที่อยู่กับที่ (stationary phase) มีลักษณะเป็นของแข็ง สาร analyticและสารเจือปนบางส่วน จะถูกดูดซับที่เฟสที่อยู่กับที่ จากนั้นผ่านด้วย mobile phase หรือตัวทำลายชนิดอื่น กำจัดสารเจือปนที่ไม่ต้องการออกไป ซึ่งจะเหลือเฉพาะ analyte ที่ติดอยู่กับ stationary phase เท่านั้น หลังจากนั้นจะใช้ mobile phase ที่สามารถชะเอา analyte ที่เราต้องการออกมา และนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางโครมาโทรกราฟี หรือ วิเคราะห์โดยวิธีอื่นๆ ที่ต้องการได้

stationary phase ที่เป็นของแข็งจะถูกบรรจุในกระบอกฉีดยาพลาสติกหรือแก้ว หรืออาจจะทำเป็นแผ่นคล้ายกับกระดาษกรอง ในการใช้งานจริงจะใช้ SPE ต่อเข้ากับชุดทำสูญญากาศ เพื่อให้สารละลายไหลได้รวดเร็วขึ้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว stationary phase จะทำมาจาก silica ที่สร้างถูกยึดด้วยสารที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เหมาะสำหรับดูดซับ analyte เช่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีอะตอมคาร์บอน 8 และ 18 ตัว (SPE C8, C18) สารที่มีหมู่อะมิโน (สำหรับกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุลบ) และสารที่มีหมู่ซัลโฟนิค หรือ คาร์บอกซิลิก (สำหรับกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุบวก)

Popularity: 2% [?]

พาราฟิล์ม, Parafilm M

พาราฟิล์ม (Parafilm)
ทำด้วยพลาสติกพาราฟิน มีลักษณะเป็นฟิล์มติดกับแผ่นกระดาษ ใช้สำหรับปิดปากขวดหรือภาชนะใส่สารละลาย
โดยพาราฟิล์มนี้มีคุณสมบัติ นุ่มยืดออกได้ ทนความร้อน กันน้ำ ไม่มีกลิ่น แสงกึ่งผ่านได้ และมีความเหนียวติดกับภาชนะได้ดี
นอกจากนั้นยังใช้ปิดภาชนะเพื่อป้องกันความชื้นและการปนเปื้อนของอากาศ เมื่อต้องการเก็บสารตัวอย่างไว้ ได้ อย่างไรก็ตามพาราฟิล์มนี้ก็ฉีกขาดเสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศและแสง จึงไม่ควรใช้พาราฟิล์มปิดปากภาชนะแล้วเก็บไว้เป็นเวลานานเกินไป

ข้อควรระวังในการใช้งาน

– ไม่ปลอดภัยเมื่อใช้ในการ autoclave

– ไอระเหยของตัวทำละลายบางอย่างละลายพาราฟิล์มได้

Popularity: 3% [?]

Search
glassware chemical