ปรอท Mercury

ปรอท (Mercury) เป็นธาตุลำดับที่ 80 ในตารางธาตุ สัญลักษณ์ Hg ชื่อของธาตุในภาษาละตินคือ hydragyrum หมายถึง liquid silver หรือ เงินเหลว เป็นธาตุคาบ 3 หมู่ 2B มีน้ำหนักอะตอม 200.59 ไอโซโทปที่เสถียร Hg-199(90.84%)

สมบัติทางกายภาพ มีลักษณะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 13.6 โครงสร้างเป็นแบบ rhombohedric อะตอมแต่ละตัวถูกล้อมรอบด้วยอะตอมอื่น 6 อะตอม คุณสมบัติทางแม่เหล็กเป็นแบบ diamagnetic เมื่ออยู่ในสถานไอจะไม่มีสีและเป็นอะตอมเดี่ยว ความสามารถในการละลาย ละลายได้ดีในฟอสฟอรัสขาวเหลว และละลายไม่ดีในตัวทำละลายอินทรีย์

สมบัติทางเคมี ในสถานะของเหลวไม่ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน
ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย (NH3) ที่ความดัน 1 บรรยากาศ จะได้ผลิตภัณฑ์ (Hg2N)O(NH3)x ซึ่งระเบิดได้ง่าย หากทำปฏิกิริยาที่ความดันมากกว่า 1 บรรยากาศจะเกิดผลิตภัณฑ์ที่เสถียรมากกว่า
ทำปฏิกิริยากับก๊าซคลอรีน (Cl2) ได้ผลิตภัณฑ์ HgCl2 และ Hg2Cl2
ทำปฏิกิริยากับกรดไนตริกที่ร้อน จะได้เกลือไนเตรท
ทำปฏิกิริยากับโลหะอื่นๆ เกิดเป็นโลหะผสม (อะมัลกัม) เช่น NaHg, HgRb, Hg2K เป็นต้น

อันตรายที่เกิดจากพิษของปรอท แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง พิษแบบเฉียบพลัน หายใจเอาไอปรอทเข้าไปในปริมาณมากในทันทีทันใด จะทำให้ระคายเคืองต่อระบบหายใจอย่างรุนแรง เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้ปวดท้องและอาเจียน หากปรอทเข้าไปถึงลำไส้ จะทำให้ถ่ายเป็นเลือด ถ้าแพ้มากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ประเภทที่ 2 คือ พิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับ สะสมปรอทเข้าไปในร่างกายทีละเล็กน้อย จะทำให้มีรสโลหะในปาก เหงือกและปากอักเสบ ทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เคลื่อนไหวสั่นกระตุก

Popularity: 1% [?]

Comments are closed.

Search
glassware chemical