Weight and Concentration unit
หน่วยของน้ำหนักที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการคือ หน่วยเมตริก ซึ่งวัดน้ำหนักของสารเป็นกิโลกรัม (kg) และหน่วยย่อยลงไปเป็นกรัม (g) มิลลิกรัม (mg) ไมโครกรัม (ug) นาโนกรัม (ng) หรือ พิโคกรัม (pg)
1.น้ำหนักอะตอม (atomic weight) ได้จากการเปรียบเทียบกับน้ำหนักของคาร์บอน 12 (C12) เป็นมาตรฐาน โดยกำหนดให้มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 12 กรัม ซึ่งมีจำนวนอะตอมทั้งหมด 6.02 X 10E23 อะตอม เรียกหน่วยนี้อีกอย่างหนึ่งว่า 1 โมล เช่น Na จำนวน 6.02 X 10E23 อะตอม หรือ 1 โมล มีน้ำหนักเท่ากับ 23 กรัม
2.น้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) ความหมายคือน้ำหนักของสารที่มีจำนวนโมเลกุลเท่ากับ 6.02 X 10E23 โมเลกุล หรือ 1 โมล (โมเลกุล คือ ธาตุตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปมารวมกัน เช่น H2 เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุ H 1 อะตอม + H 1 อะตอม) เช่น O2 จำนวน 6.02 X 10E23 โมเลกุล หรือ 1 โมล มีน้ำหนักเท่ากับ 32 กรัม (O แต่ละตัวหนัก 16 กรัม O+O = 32 กรัม ให้สัญลักษณ์ใหม่เป็น O2)
หน่วยความเข้มข้น (concentration unit)
แสดงอยู่ในรูปจำนวนของตัวถูกละลายที่มีอยู่ในสารละลาย อาจใช้หน่วยเป็นกรัม, มิลลิกรัม, โมล ฯลฯ หรือหน่วยปริมาตร (ลิตร, มิลลิลิตร, แกลลอน)
สารละลายที่มีความเข้มข้นมาก หมายความว่าปริมาณของตัวถูกละลายในหนึ่งหน่วยปริมาตรมีปริมาณมากบางครั้งใช้ตัวย่อเป็น conc. ส่วนสารละลายเจือจางแสดงว่ามีปริมาณของตัวถูกละลายในหนึ่งหน่วยปริมาตรน้อย ใช้ตัวย่อเป็น dil.
หน่วยความเข้มข้นที่นิยมใช้ โมลาริตี้ (M) เปอร์เซ็นต์ (%)
โมลาริตี้ (M) หมายถึง จำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร เช่น กรดไฮโดรคลอริก(HCl) เข้มข้น1 M หมายถึง สารละลาย 1000 มิลลิลิตร มีกรด HCl อยู่ 1 โมล
เปอร์เซ็นต์ (%) โดยมากใช้เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร (% weight by volume)
เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร = น้ำหนักตัวถูกละลาย X 100 /ปริมาตรสารละลาย
Popularity: 9% [?]