แก้วสี (colored glass)
แก้วสี (colored glass) หรือกระจกสี เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ 2500 ปีมาแล้ว ชาวอียิปต์ได้ประดิษฐ์แก้วทึบแสงขึ้นมา ส่วนในสมัยประวัติศาสตร์กลาง ก็มีการนำแก้วสีมาตกแต่งโบสถ์วิหารโดยใช้ทำกระจกที่มีสีสันต่างๆ เช่นแก้วสีชมพู (Crimson pink) ซึ่งมีความสวยงามมาก ผลิตจากช่างแก้วชาวเวนิช จากนั้นได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ตามยุคสมัยต่างๆ
แก้วสี (colored glass) ทำได้ด้วยการเติมสารอนินทรีย์ ในกลุ่มโลหะออกไซด์ ลงไปในเนื้อแก้วใส ในปริมาณมากน้อยต่างกันไป อาจเป็นชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ แล้วนำไปหลอมรวมกัน โดยปริมาณของโลหะออกไซด์ที่เติมลงไป ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็เพียงพอที่ทำให้แก้วเกิดสีได้ ซึ่งไม่ทำให้คุณสมบัติของแก้วเดิมเปลี่ยนไป สีของแก้วที่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดออกไซด์ของโลหะ เช่น เติมคอปเปอร์ออกไซด์ (CuO) จะได้แก้วสีน้ำเงินหรือสีเขียว หากต้องการแก้วสีเขียวเหลืองก็เติมออกไซด์ของยูเรเนียมเข้าไป สารอนินทรีย์ที่ใช้ผสมแก้วและสีที่เกิดขึ้นแสดงดังตารางข้างล่างนี้
สารอนินทรีย์ที่ใช้ |
สีที่ปรากฏ |
โลหะเงิน (Ag) | สีเหลือง |
ทองแดงออกไซด์ (CuO) | สีเขียวและสีน้ำเงิน |
ทองแดง (Cu) | สีแดงทับทิม |
แคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) | สีเหลือง |
แคดเมียมซัลไฟด์ผสมกับซีลิเนียม (CdS & Se) | สีแดงสดและสีส้ม |
โลหะซีลิเนียมอ (Se) | สีชมพู แดง และน้ำตาลแดง |
โลหะไทเทเนียมและซีเรียมออกไซด์ (Ti & Ce) | สีเหลือง |
กำมะถัน (S) | สีเหลืองอำพัน |
กำมะถันกับตะกั่ว(Pb)/เหล็ก(Fe)/นิกเกิล(Ni)/โคบอลท์(Co) | สีดำเข้ม |
เหล็กออกไซด์ (Fe2O3) | สีน้ำเงิน เขียมและเหลืองอำพัน |
แมงกานีสออกไซด์ (MnO2) | สีเหลืองอำพัน |
โครเมียมออกไซด์ (CrO,Cr2O3) | สีเขียว |
นิกเกิลออกไซด์และโคบอลท์ออกไซด์ (NiO, Ni2O3 & CoO, Co2O3) | สีน้ำตาล ม่วง และน้ำเงินเข้ม |
นอกจากการทำให้แก้วมีสีสันด้วยการเติมสารอนินทรีย์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการอื่นอีกโดยการระบายสีลงบนแก้ว (staining or painting) และการเคลือบสีทับเนื้อแก้ว หลังจากตกแต่งแก้วตามความต้องการแล้ว ต้องนำแก้วไปเผาอีกครั้ง เพื่อให้สีติดแน่นลงไปในเนื้อแก้ว จะพบแก้วสี(colored glass) ได้ทั่วไปในปัจจุบัน ในร้านค้าเครื่องประดับ และตกแต่ง ร้านค้าภาชนะเครื่องแก้ว
Popularity: 24% [?]