ก๊าซเชื้อเพลิงเป่าแก้ว (Fuel gases)
ก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel gases) เป็นก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเป่าแก้ว ประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆ ดังนี้
ก๊าซถ่านหิน (coal gas) เป็นก๊าซที่ได้จากการเผาถ่านหินให้มีความร้อนประมาณ 1000 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ที่จำกัดอากาศ ส่วนประกอบของก๊าซถ่านหินขึ้นอยู่กับแหล่งของถ่านหิน โดยทั่วไปจะมี ไฮโดรเจน 50 %, มีเทน 32 % คาร์บอนมอนนอกไซด์ 8 %, ไนโตรเจน 6% และ เอธิลีน 4% โดยปริมาตร ก๊าซถ่านหินนี้เหมาะสำหรับใช้ในการเป่าแก้ว ตะกั่ว แก้วโซดา และแก้วบอโรซิลิเกต
ก๊าซไฮโดรเจน (hydrogen gas) เป็นก๊าซที่มีความไวไฟมาก ราคาแพงกว่าก๊าซถ่านหินมาก บรรจุในถังเหล็กทาด้วยสีแดงมีความดันภายในถัง 140 kg/cm2 หรือ (20 lb/in2, ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ก๊าซไฮโดรเจนเหมาะสำหรับเป่าแก้วซิลิเกต เพราะว่าให้ความร้อนสูงมาก ไม่เหมาะสำหรับเป่าแก้วโซดาเพราะว่าแก้วโซดาจะหลอมเร็วมาก บางครั้งอาจใช้กับแก้วบอโรซิลิเกตได้เหมือนกัน แต่การควบคุมเป็นไปได้ยาก ไม่ควรใช้ก๊าซเชื้อเพลิงจนหมดถัง ควรเหลือความดันไว้ประมาณ 25 lb/in2 ถ้าความดันน้อยกว่านี้อากาศและออกซิเจนในบรรยากาศอาจเข้าไปอยู่ในถัง ทำให้เกิดการผสมกับก๊าซที่เติมลงไปเกิดอัตราส่วนใหม่ ปริมาณความร้อนจะไม่เท่าเดิม
ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) โดยองค์ประกอบหลักคือก๊าซมีเทน (CH4) และองค์ประกอบย่อยได้แก่ อีเทน โปรเพน และบิวเทน ราคาไม่แพง หาได้ง่าย
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (liquefied petroleum gas, LPG) หรือที่เรียกกันว่าก๊าซหุงต้ม ประกอบด้วยก๊าซโปรเพนและบิวเทน ที่ถูกอัดลงในถังให้มีความดัน 100-140 lb/in2 จะอยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเป่าแก้วได้ เมื่อปล่อยออกมาจากถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวนี้จะกลายเป็นไอ ลักษณะก๊าซ จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และกลิ่น ติดไฟได้ง่าย ในทางการค้าจึงต้องเติมสารที่มีกลิ่นเข้าไป เพื่อให้สังเกตได้เมื่อมีการรั่วไหลของก๊าซ
เมื่อนำก๊าซเชื้อเพลิงเหล่านี้ไปใช้กับตะเกียงเป่าแก้ว ต้องเลือกใช้ตะเกียงให้เหมาะสมกับก๊าซแต่ละชนิดเนื่องจากก๊าซแต่ละชนิดเมื่อผสมกับก๊าซที่ช่วยการสันดาป(oxidant gas) จะให้อุณหภูมิแตกต่างกัน อุณหภูมิสูงสุดของก๊าซเชื้อเพลิงและก๊าซสันดาป แสดงดังตารางด้านล่างนี้
ก๊าซเชื้อเพลิง |
ก๊าซสันดาป |
อุณหภูมิสูงสุด (องศาเซลเซียส) |
ไฮโดรเจน |
อากาศ |
2045 |
ไฮโดรเจน |
ออกซิเจน |
2600 |
ก๊าซถ่านหิน |
อากาศ |
1950 |
ก๊าซถ่านหิน |
ออกซิเจน |
2730 |
ก๊าซธรรมชาติ |
อากาศ |
1875 |
ก๊าซธรรมชาติ |
ออกซิเจน |
2930 |
ก๊าซปิโตรเลียม |
อากาศ |
1930 |
ก๊าซปิโตรเลียม |
ออกซิเจน |
2760 |
Popularity: 20% [?]
[…] แว่นตาเป่าแก้ว (eyeglasses) ในการเป่าแก้วมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องสวมแว่นตาที่มีความจำเพาะกับงานเป่าแก้ว โดยเลือกเลนส์ที่มีชื่อเรียกว่า Didymium ซึ่งเลนซ์นี้สามารถดูดกลืนแสงในช่วงสีเหลืองได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแก้วได้รับความร้อนจากไฟที่เกิดจากก๊าซเชื้อเพลิงและก๊าซสันดาป จะเปล่งแสงสีเหลืองออกมา แสงสีเหลืองที่เปล่งออกมานี้เป็นแสงที่เกิดจากธาตุโซเดียมที่เป็นส่วนประกอบของแก้ว มีความสว่างจ้ามาก ทำให้ผู้เป่าแก้วมองชิ้นงานไม่ชัดเจนและแสบตา นอกจากนั้นยังประกอบด้วยแสงยูวี (UV light) ซึ่งเป็นแสงที่อันตรายมากต่อดวงตา สำหรับเสนส์ Didymium เป็นแก้วพิเศษที่ประกอบด้วย neodymium oxide และ praseodymium oxide […]