Solution preparation
การเตรียมสารละลาย (solution preparation) เมื่อต้องการทดลองศึกษาปฏิกิิริยาต่างๆ จะต้องเตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นพอเหมาะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเตรียมให้อยู่ในรูปของสารละลาย ซึ่งสารละลายจะประกอบด้วยตัวถูกละลาย(มีปริมาณน้อย) และตัวทำละลาย(มีปริมาณมากกว่า)
การเตรียมสารละลายโดยแสดงความเข้มในหน่วยโมลาริตี้ (M, mol/L) ทำได้โดยละลายตัวถูกละลาย ที่ทราบน้ำหนักแล้วด้วยปริมาตรที่แน่นอนจำนวนหนึ่งของตัวถูกละลาย โดยทั่วไปจะแสดงความเข้มข้นของสารละลายเป็นโมลาริตี้ (M) หรือ จำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ลิตร
ตัวอย่างการเตรียมสารละลาย 1.00 M NaCl (เกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์) ปริมาณ 1 ลิตร
ขั้นแรกต้องคำนวณน้ำหนักโมเลกุลของ NaCl ก่อน โดยนำน้ำหนักของ Na (sodium) รวมกับน้ำหนักของคลอรีน (Cl) จะได้ 22.99 + 35.45 = 58.44 g/mol
- ชั่งน้ำหนักของ NaCl เท่ากับ 58.44 กรัม ลงในบีกเกอร์ขนาด 500 มิลลิลิตร
- เติมน้ำกลั่นลงไปเล็กน้อยเพื่อละลาย NaCl ใช้แท่งแก้วคนให้ละลายจนหมด
- เทสารละลาย NaCl ลงไปในขวดวัดปริมาตร ขนาด 1 ลิตร ผ่านกรวยกรองแก้ว
- กลั้วบีกเกอร์ที่ใช้ละลาย NaCl 2-3 ครั้ง แล้วเทลงในขวดวัดปริมาตร
- เติมน้ำกลั่นลงในขวดวัดปริมาตรให้ถึงขีดบอกปริมาตร
- ปิดฝาขวดวัดปริมาตร และเขย่าโดยการคว่ำ – หงาย ขวดวัดปริมาตรไปมาจนสารละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกันหมด
- เราจะได้สารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้น 1 M แล้ว
หากต้องการเตรียมสารละลาย NaCl ให้มีความเข้มข้นอื่นที่เราต้องการ ให้นำความเข้มข้นคูณด้วยมวลโมเลกุลของ NaCl เช่นต้องการเตรียม NaCl 0.5 M เราจะต้องชั่งโซเดียมคลอไรด์เท่ากับ 0.5 mol/L X58.448 g/mol= 29.22 g/L แสดงว่าจะต้องชั่งน้ำหนัก NaCl 29.22 g ละลายด้วยน้ำกลั่นและปรับปริมาตรให้ครบ 1 ลิตร
Popularity: 9% [?]